in , , , ,

ภาวะ ‘ดื้ออินซูลิน’ คืออะไร? วิธีแก้ อาการดื้ออินซูลิน

ภาวะ 'ดื้ออินซูลิน' คืออะไร? วิธีแก้ อาการดื้ออินซูลิน

ภาวะดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin Resistance) คือสาเหตุที่ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานประเภทที่สองและภาวะอันตรายอื่น ๆ ตามมาเช่นโรคหัวใจ โรคเส้นเลือดสมองขาดเลือด โรคไขมันพอกตับ เป็นต้น

ติดตามเราที่ Facebook หมอฮับ – Morhub.com

สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะดื้ออินซูลิน

การเกิดขึ้นของภาวะดื้ออินซูลิน ไม่ได้เกิดขึ้นทันทีทันใด แต่เกิดจากการสะสมความเสื่อมสภาพไปเรื่อย ๆ ระยะเวลานับปี ความเสื่อมสภาพมีสาเหตุจากการรับประทานอาหารที่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นประจำ เช่น ชานม ขนมเค้ก ผลไม้ ของหวานต่างๆมากมายและกินอย่างไม่เป็นเวลา ทำให้น้ำตาลขึ้นสูงตลอดเวลา เกิดการกระตุ้นให้เซลล์ตับอ่อน (เบต้าเซลล์) ผลิตฮอร์โมนอินซูลินอย่างต่อเนื่องเพื่อมาลดระดับน้ำตาลในร่างกาย  การผลิตมาก ๆ นี้เองที่ทำให้เซลล์เหนื่อยจนด้านชาเกิดเสื่อมสภาพกลายเป็นดื้ออินซูลินนั่นเอง

สัญญาณ ภาวะดื้ออินซูลิน

ภาวะดื้ออินซูลิน มีสัญญาณและอาการที่ควรระวัง ดังนี้

  1. รอบเอว  มากกว่า 31.5 นิ้วในผู้หญิง และมากกว่า35.5นิ้วในผู้ชาย
  2. ไตรกลีเซอไรด์มากกว่า 150
  3. HDL ต่ำกว่า50 ในผู้หญิง และต่ำกว่า 40 ในผู้ชาย
  4. ความดันสูง มากกว่า 140/90 mmHg
  5. น้ำตาลสูงกว่า 100 mg/dl
  6. มีแถบปื้นสีดำเกิดขึ้นบริเวณรอยพับตามลำตัว  ส่วนใหญ่เห็นบริเวณซอกคอ ข้อศอก ข้อพับ ทางการแพทย์เรียกว่า Acanthosis nigricans

อันตรายของภาวะดื้ออินซูลิน ในระยะยาว

ภาวะดื้ออินซูลิน ก่อให้เกิดอันตรายในระยะยาว เพราะเป็นภาวะการทำลายการทำงานระดับเซลล์ ทำให้เกิดโรคตามที่กล่าวไปแล้วและยังสัมพันธ์กับความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเพิ่มขึ้น เช่น

  • มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
  • มะเร็งเต้านม
  • มะเร็งลำไส้
  • มะเร็งปากมดลูก
  • มะเร็งตับอ่อน
  • มะเร็งต่อมลูกหมาก
  • มะเร็งมดลูก

ในงานศึกษาพบว่าภาวะที่อินซูลินเพิ่มขึ้นสูงมาก ๆ ในร่างกาย สามารถทำให้ความสามารถในการทำลายเซลล์ที่ผิดปกติของร่างกายลดต่ำลง ทำให้เซลล์กลายสภาพเป็นเซลล์ที่อันตรายและทำให้มันโตขึ้นได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังสัมพันธ์กับภาวะอัลไซเมอร์อีกด้วย หรือทำให้เซลล์ความจำเสื่อมลงนั่นเอง ฉะนั้น ยังไม่สายหากคิดจะกู้สภาพให้ดีขึ้น

วิธีแก้ อาการดื้ออินซูลิน

จะทำยังไงไม่ให้ดื้ออินซูลิน? ภาวะดื้ออินซูลิน หายได้ไหม? เมื่อเกิดภาวะดื้ออินซูลิน สิ่งแรกที่ควรทำคือควรลดน้ำหนักให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมเป็นเป้าหมายแรก มีการศึกษาที่น่าสนใจเกี่ยวกับการลดนำ้หนักเปรียบเทียบ ดังนี้

  • ลดด้วย คุมอาหาร + ออกกำลังกาย สามารถแก้เรื่องดื้ออินซูลินได้ดีขึ้น 80%
  • ลดด้วย คุมอาหารอย่างเดียว แก้เรื่องดื้ออินซูลินได้ดีขึ้น  38%
  • ลดด้วย ออกกำลังกายอย่าวเดียว แทบแก้เรื่องดื้ออินซูลินไม่ได้เลย

และที่สำคัญการทำ IF มีส่วนช่วยอย่างมากในการฟื้นฟูประสิทธิภาพของฮอร์โมนอินซูลิน ฉะนั้นใครที่เข้าข่ายมีภาวะดื้ออินซูลิน ก็สามารถเริ่มต้นลดน้ำหนักด้วยการทำ IF และวิธีการที่เหมาะสมได้เลย

แหล่งข้อมูล

Harvard T.H.Chan School of Public Health: Abdominal Obesity Measurement Guidelines for Different Ethnic Groups. https://www.hsph.harvard.edu/obesity-prevention-source/waist-circumference-guidelines-for-different-ethnic-groups/

International Diabetes Federation: Metabolic syndrome—driving the CVD epidemic. https://www.idf.org/webdata/docs/Diabetes_meta_syndrome.pdf

Orgel: The Links Between Insulin Resistance, Diabetes, and Cancer. Curr Diab Rep. 2013 Apr; 13(2): 213–222. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3595327/

Dijiogue S: Insulin resistance and cancer: the role of insulin and IGFs. Endocr Relat Cancer February 1, 2013 20 R1-R17. http://erc.endocrinology-journals.org/content/20/1/R1.full

Orgel: The Links Between Insulin Resistance, Diabetes, and Cancer. Curr Diab Rep. 2013 Apr; 13(2): 213–222. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3595327/

Bouchonville M; Weight Loss, Exercise, or Both and Cardiometabolic Risk Factors in Obese Older Adults: Results of a Randomized Controlled Trial. Int J Obes (Lond). 2014 Mar; 38(3): 423–431. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3835728/

Broussard: Sleep deprivation and fat feeding may reduce insulin action by similar mechanistic pathways presented at The Obesity Society Annual Meeting at ObesityWeekSM 2015 in Los Angeles, CA. http://www.obesity.org/news/press-releases/one-night-of-poor-sleep-could-equal-six-months-on-a-high-fat-diet.


ติดตามเราที่ Facebook หมอฮับ – Morhub.com

เขียนบทความ รีวิว แบ่งปันกับสมาชิก Morhub.com! สร้างโพสต์ของคุณ!

What do you think?

'แคลเซียมเกาะหลอดเลือด' ควรตรวจไหม? ถ้ากินคีโต & Carnivore Diet

‘แคลเซียมเกาะหลอดเลือด’ ควรตรวจไหม? ถ้ากินคีโต & Carnivore Diet

หากย้อนเวลาได้ จะกลับไปแก้ไขอดีตอีกครั้ง!

หากย้อนเวลาได้ จะกลับไปแก้ไขอดีตอีกครั้ง!