แผลเบาหวานติดเชื้อที่เท้า (Diabetic Foot Infection)
ในปัจจุบันมีคนเป็นโรคติดต่อไม่เรื้อรังมากขึ้น สาเหตุหลักก็มักจะหนีไม่พ้นเรื่องอาหารการกินที่ส่งผลให้เกิดภาวะน้ำหนักเกินและอ้วนตามมา โรคเบาหวานประเภทที่สองก็เป็นโรคหนึ่งที่อยู่ในกลุ่มนี้และก่อให้เกิดผลเสียกับร่างกายหลาย ๆ อย่าง เช่น แผลเบาหวานติดเชื้อที่เท้า การติดเชื้อที่เท้า สามารถทำให้แผลนั้นรุนแรงและแก้ไขได้ยากกว่าปกติ
💥 ผู้ป่วยเบาหวานที่มาพบแพทย์ด้วยเรื่องแผลที่เท้ามักตรวจพบว่ามีโอกาสที่แผลจะติดเชื้อมากกว่าครึ่งหนึ่ง หรือ 50% เลยทีเดียว หากตรวจรักษาอย่างเหมาะสมในระยะแรก ก็จะทำให้ป้องกันการติดเชื้อลุกลามอันนำไปสู่การผ่าตัดเนื้อตายหรือการตัดเนื้อเยื่อบางส่วนออก ซึ่งมีเปอร์เซนต์สูงถึง 20% หรือ 1 ใน 5 ของการติดเชื้อลุกลาม ทั้งนี้ความรุนแรงของการติดเชื้อของคนที่รักษาช้าหรือรักษาไม่เหมาะสมอาจทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
สาเหตุการเกิด แผลเบาหวานติดเชื้อ
1. เส้นประสาทรับความรู้สึกปลายเท้าเสื่อมสภาพ (Peripheral Neuropathy) ทำให้สูญเสียการรับสัมผัสของปลายเท้าหรือของแผลทำให้รักษาช้า
2. การขาดเลือดอันเนื่องมาจากเส้นเลือดส่วนปลายจะแข็งเสื่อมสภาพและมีหินปูน (Plaque) เกาะทำให้เลือดไปเลี้ยงขาได้น้อย เลือดไปเลี้ยงได้น้อยก็ทำให้ออกซิเจนที่จะช่วยฟื้นฟูแผลน้อยลงด้วยครับ
ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยง แผลเบาหวานติดเชื้อ
พิจารณาจากตัวคนไข้ดังนี้
- แผลลึกถึงกระดูก
- แผลเป็นมานานกว่าสามสิบวัน
- เคยเป็นแผลติดเชื้อเบาหวานมาก่อนหน้านี้
- มีแผลที่เท้านำมาก่อนชัดเจน
- มีภาวะเส้นเลือดแข็งตัวผิดปกติ
- มีโรคไตเรื้อรัง
- ชาปลายเท้า
- ชอบเดินไม่ใส่รองเท้า
อาการนั้นสังเกตรอบแผลดูว่ามีอาการปวดหรือไม่ บางคนอาจไม่ปวดเพราะเสียสัมผัสไปแล้ว สังเกตสีและลักษณะรอบแผลหากแดงและบวมกว่าบริเวณอื่นก็มีโอกาสมากขึ้น ลองคลำดูหากพบว่ารอบๆแผลนั้นอุ่นกว่าบริเวณอื่นก็มีโอกาสติดเชื้อเช่นกัน
การรักษาแผลเบาหวานที่เท้า
โดยทั่วไปหลักการรักษาประกอบไปด้วย
- การให้ยาฆ่าเชื้อให้ทันท่วงทีเมื่อมีอาการ
- ควบคุมน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม โดยปรับโภชนาการ
- การดูแลความสะอาดของเท้าเป็นเรื่องสำคัญมาก
ที่สำคัญที่สุดคือคนที่ร่วมดูแลต้องสามารถสนับสนุนได้อย่างเหมาะสม
แผลเบาหวาน ตัดขา ตัดเนื้อ
เมื่อไรจึงจำเป็นต้องตัด
เมื่อมีการติดเชื้อที่เกิดก๊าซในเนื้อเยื่อ จำเป็นต้องผ่าตัดเร่งด่วนครับ เพราะอาจเกิดเนื้อตายลามรุนแรงทางการแพทย์เรียก Necrotizing Fasciitis ที่จะนำไปสู่การผ่าตัดที่ยากและซับซ้อนขึ้นครับ
ส่วนเนื้อตายบางส่วนสามารถผ่าตัดเล็กโดยการค่อยๆตัดเอาเนื้อเยื่อที่ติดเชื้อออกและทำแผลบ่อยๆเพื่อให้เกิดความชุ่มชื้นที่เหมาะสม (Moisture Balance) ทำให้แผลหายเร็วขึ้นครับ
บทความโดย นพ. ปกป้อง วงษ์วิจารณ์
Comments
Loading…